วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ชิวาวา

     สุนัขพันธ์ชิวาวา เมื่อก่อนจะเรียกกันว่า “หมากระเป๋า” เพราะเป็นสุนัขที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปไหนมาไหนจับใส่กระเป๋าไปได้เลย เมื่อก่อนชิวาวานิยมเลี้ยงไว้เล่นเป็นเพื่อนแก้เหงา ไม่ค่อยเอาออกมาโชว์ในสนามแข่งขันสุนัขแต่ในปัจจุบันถือได้ว่าสุนัขพันธ์ชิวาวาเป็นสุนัขยอดนิยมแห่งยุคเลยทีเดียว จึงมีการนำสุนัขพันธ์นี้ออกมาทำการแข่งขันและได้รับตำแหน่งหลายรางวัลไม่แพ้สุนัขพันธ์ใหญ่ จึงเกิดเป็นเทรนด์ในการเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กมาแรงในตอนนี้ ก็คงจะเป็นเพราะขนาดที่เหมาะกับยุคสมัยและสถานที่ความเป็นอยู่ในปัจจุบันบวกกับสุนัขพันธ์ชิวาวาที่มีนิสัยที่น่ารัก ตัวเล็กๆน่าเอ็นดู สัดส่วนเล็กกระทัดรัด อีกทั้งยังมีสีสรรที่หลากหลาย และการใช้พี้นที่ในการเลี้ยงน้อยมาก ๆ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของการเริ่มเลี้ยงสุนัขซักตัว ได้ถูกต้องที่สุด กลุ่มคนที่สนใจเลี้ยงสุนัขพันธ์นี้ส่วนมากมักจะเป็นวัยรุ่น คู่สามี-ภรรยา พ่อ-ลูกและผู้ที่มีใจรักน้องหมา

ประวัติของชิวาวา
     จากเอกสารที่นำมาสืบค้นเรื่องของประวัติความเป็นมาชิวาวาผู้เขียน คือ คุณกำพล  กรประทีป ซึ่งสำหรับในเล่มแรกได้ กล่าวว่า ชิวาวาเป็นสุนัขตัวเล็กที่สุดในโลกและไม่ทราบประวัติแน่ชัด บางคนเชื่อว่าชิวาวามีต้นกำเนิดในเอเชีย บ้างก็ว่ามาจากยุโรป แต่ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากที่ไหนสุนัขพันธุ์นี้ก็ถือเป็นสุนัขประจำประเทศแม็กซิโก จากการค้นพบรูปปั้นสุนัขในชิเชนอิซา (Chi Chen Itza) โคลิมา (Colima) และเมืองอื่น ๆ ที่พังทลายในแถบทวีปอเมริกาใต้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสุนัขพันธุ์ชิวาวาในปัจจุบัน แระกิบกับการที่คำว่า Chi ในภาษาท้องถิ่นของอินเดียแดง หมายถึง สุนัข จึงดูเหมือนว่าเป็นบรรพบุรุษของชิวาวาได้เกิดในระยะเวลานั้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าบรรพบุรุษของชาวแอสเท็ค (Aztecs) เป็นชนพื้นเมืองในแม็กซิโก คือชาวชิชิเมค (Chichimec) แปลว่า ลูกชายของสุนัข มีสุนัขประมาณ 75 สายพันธุ์ที่สามารถสืบค้นพื้นเพได้ว่ามีต้นกำเนิดอยู่ในช่วง 1875-1900 และสุนัขชิวาวาขนสั้นรุ่นใหม่ได้ถูกพบสุนัขลักษณะเหมือนชิวาวาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านวัลเล เด อัลเลเด (Vallede Allende) ทางใต้ของเมืองชิวาวา 
     

  ต่อมาคุณกำพล  กรประทีป ได้ทำการเขียนหนังสืออีกเล่มเพื่อนำมาใช้ควบคู่กับเล่มแรก ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชิวาวา กล่าว่า เมื่อราวต้นศตวรรษที่ 19 เคยมีอาณาจักรชื่อ Toltecs ซึ่งปัจจุบันเป็นดินแดนในประเทศเม็กซิโก เป็นอาณาจักรนี้รุ่งเรืองอยู่นานนับร้อยปี มีการสร้างสุนัขพันธุ์ Techichi ซึ่งมีขนาดเล็กแต่กระดูกใหญ่ ขนยาว ลักษณะเด่นพิเศษคือเป็นสุนัขที่เงียบกริบ เชื่อกันว่าอาจจะเป็นต้นกำเนิดแห่งสายพันธุ์ชิวาวา หลักฐานสำคัญที่ยืนยัน คือรูปสลักสุนัขบนหินเป็นรูปเต็มของสุนัขทั้งตัวซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับชิวาวาในยุคปัจจุบัน หลังจากอาณาจักร Toltecs ล่มสลาย ก็ถึงคราวรุ่งเรืองของอาณาจักร Aztec ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณเดียวกันกับอาณาจักร Toltecs ทำให้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับชิวาวาในปี ค.ศ.1850 อาณาจักร Aztec ถือว่าเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวย มีอายุหลายร้อยปี พระจักรพรรดิ Montezuma ทรงเลี้ยงชิวาวาไว้ในวัง พวกชนชั้นสูง แต่คนทั่วไปกลับมองก็ถึงคราวล่มสลายจึงทำให้ความร่ำรวย และอารยธรรมต่าง ๆ รวมทั้งชิวาวาสูญหายไปด้วย ในยุค Toltecs และ Aztec ไม่ได้เป็นแค่เพียงสุนัขที่ผู้คนนิยมกันมากเท่านั้น แต่ยังเป็นสุนัขที่มีความสำคัญทางศาสนาด้วย กล่าวคือใช้เป็นสื่อกลางในการบูชาเทพเจ้า ใช้เป็นผู้นำทางวิญญาณไปสู่โลกแห่งความตาย รวมทั้งยังรับบาปแทนมนุษย์ได้ด้วยด้วยเหตุนี้นักโบราณคดีจึงได้เห็นซากชิวาวาถูกฝังอยู่ในหลุมศพเดียวกับคนอยู่ทั่วไปในเม็กซิโกและบางส่วนของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งที่เสนอโดย K. de Blinde ข้าราชการชาวเม็กซิกันผู้ชื่นชอบการขี่ม้าไปทั่วประเทศ และเป็นนักสร้างสายพันธุ์ที่เชื่อว่า ชิวาวาเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Techichi กับสุนัขไร้ขนตัวเล็กจากเอเชีย ซึ่งสุนัขตัวเล็กนี้มีลักษณะคล้ายกับสุนัขที่อยู่ในประเทศจีน และจากสายพันธุ์ของสุนัขนี้เอง ที่ทำให้ชิวาวามีขนาดเล็กลงจนเท่ากับชิวาวาในปัจจุบัน แต่ชิวาวาในปัจจุบันก็มีลักษณะแตกต่างจากบรรพบุรุษอยู่บ้างในเรื่องสีขน คือ มันมีสีสันหลากหลาย ตั้งแต่ขาวสว่างไล่ไปจนถึงดำ จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ชาวอเมริกันได้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดเล็กลง แต่คงลักษณะรูปร่างและนิสัยเดิมไว้ทุกประการ โดยทั่วไปชาวอเมริกันนิยมเลี้ยงชิวาวาขนสั้นมากกว่าขนยาว

สายพันธุ์ชิวาวา

ชิวาวาประกอบด้วยสายพันธุ์ที่แบ่งตามลักษณะของขนได้ดังนี้
1. ชิวาวาพันธุ์ขนสั้น เส้นขนควรอ่อนนุ่มแนบไปกับลำตัว เกรียน และเป็นมันวาว หากชิวาวาตั
วโจะมีขนมากกว่าปกติ เนื่องจากมีขนชั้นในด้วยโดยปกติขนบริเวณลำตัวและคอจะขึ้นมากกว่าบริเวณอื่นในร่างกาย ส่วนขนบริเวณศีรษะและใบหูจะบางกว่าส่วนอื่น ๆ 
2. ชิวาวาพันธุ์ขนยาว เส้นขนควรอ่อนนุ่มเช่นกัน เหยียดตรงหรือเป็นลอนเล็กน้อย แต่ต้องไม่หยิกงอ ขนบริเวณหูจะต้องยาวแต่หากยาวมากจนปรกใบหูควรตัดเล็มออก สำหรับขนบริเวณขา อุ้งเท้า และด้านหลังของสะโพกควรเป็นเส้นบาง ๆ ส่วนขนบริเวณลำคอและหางควรมีลักษณะยาวฟู



ขนยาว
ขนสั้น
มาตรฐานสายพันธุ์ชิวาวา






สุนัขพันธุ์ชิวาวาจะมีลักษณะที่สง่างาม มีความกระตือรือร้น เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว น่ารักสดใส น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 1.4-2 กิโลกรัม สูงประมาณ 6-10 นิ้ว ลำตัวจะยาวกว่าความสูงเล็กน้อย ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่มักนิยมให้ลำตัวของสุนัขตัวผู้สั้นกว่าตัวเมีย
  • หัว ต้องมีกะโหลกกลม กะโหลกของชิวาวาตอนเล็กอาจจะปิดไม่สนิท ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดบนหัวมีโดมต้ังสูงเล็กน้อย มีลักษณะคล้ายผลแอปเปิ้ลตั้งกลับหัว หน้าทะเล้น ผิวหนังบริเวณตาและแก้มควรติดแนบไปกับกระดูก
  • ตา ตากลมโตไม่ปูดโปนอยู่ห่างกันพอดีและมีขนาดเท่ากัน มีความแวววาวสดใส ตามักมีสีเข้มหรือสีออกแดงทับทิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีขนของสุนัข หากสุนัขมีสีขนที่อ่อน ดวงตาอาจจะมีสีอ่อนได้
  • หู ใบหูควรมีขนาดใหญ่พอสมควร ปลายหูค่อนข้างแหลมชี้ตั้งเอียงออกทางด้านข้าง หากตกใจหูทั้งสองมักจะชี้ตั้งตรง ส่วนชิวาวาขนยาวนั้นบริเวณใบหูควรมีขนยาวปรกคลุมหากมีขนที่ดกและยาวมากสามารถเล็มออกให้สวยงามได้ ถ้าใบหูปรกลงมาถือว่าเป็นจุดบกพร่อง
  • จมูก ควรสั้นพอสมควรและชี้ตรงมาทางด้านหน้า แก้มและขากรรไกรเอนไปด้านหลัง สีของจมูกชิวาวาควรจะมีสีเดียวกันกับสีของขนบนลำตัว สุนัขขนสีอ่อนหรือสีบลอนด์จะมีสีจมูกสีเดียวกับขน สุนัขสีดำจะมีจมูกสีดำหรือชมพูก็ได้ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ชิวาวาแตกต่างจากสุนัขพันธุ์อื่น ๆ 
  • ฟัน ปลายฟันบนสบกับปลายฟันล่างสนิทเหมือนกรรไกร ไม่เหยินออก ปกติฟันบนจะเกยอยู่ด้านนอก หากฟันล่างเกยอยู่ด้านนอกหรือฟันล่างขบไม่สนิท ฟันขาดหรือฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบ ถือเป็นจุดบกพร่องเล็กน้อย
  • คอและไหล่ คอควรโค้งเล็กน้อยลาดลงสู่ไหล่อย่างสวยงาม สำหรับชิวาวาขนสั้นนั้น ความสวยงามของลำคอถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนชิวาวาขนยาว บริเวณลำคอควรยาวแต่ไม่ถึงกับยาวมาก ขนไม่ควรดกหนามากเกินไป ไหล่ที่สวยงามควรมีลักษณะราบเรียบและค่อย ๆ ขยายออกกว้าง เพื่อรับหน้าขาทั้งสองข้าง ขาหน้าต้องตรงไหล่ต้องแข็งแรง เพื่อสร้างสมดุลของร่างกายกระดูกไหล่ควรเทลาดลงมาทางแผ่นหลัง
  • อก ชิิวาวาควรมีอกที่ลึกและกว้างพอสมควร เพื่อให้ดูสมส่วน
  • แผ่นหลังและลำตัว แผ่นหลังเป็นลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับพื้น ลำตัวยาวกว่าความสูงเล็กน้อย โครงสร้างของลำตัวมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื่องจากซี่โครงจะกางออกเป็นทรงกลม ไม่แบน
  • ลำตัวท่อนหลัง ต้องเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ข้อศอกของขาหลังเมื่อยืนต้องห่างกันในระดับที่พอเหมาะ ข้อศอกต้องไม่บิดเข้าหากัน เมื่อเวลาที่สุนัขเดินหรือวิ่งต้องดูแข็งแกร่ง เท้าไม่ปัด
  • หาง หางของชิวาวาต้องยาวพอสมควร หางควรต้ังและโค้งเป็นรูปเคียว หรือคล้ายกับสุนัขพันธุ์ไทยหางดาบ ที่หางชี้ขึ้นหรือเอียงออกทางด้านข้างได้ ในกรณีที่หาม้วนอนุโลมให้แตะแผ่นหลังลงมาและต้องไม่ตกลงไปกระจุกอยู่ที่ก้น สีของขนบริเวณหางควรมีสีที่กลมกลืนไปกับสีของลำตัว สำหรับชิวาวาขนสั้นนั้น ขนหางต้องมีความอ่อนนุ่มกว่าบริเวณลำตัว ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนหางควรยาวและมีความอ่อนนุ่มเช่นเดียวกัน
  • ขาและเท้า ข้อเท้าต้องสวยงามและแข็งแรง ขาเหยียดตรงและตั้งขนานอุ้งเท้ามีขนาดเล็กและหนานุ่มนิ้วเท้าแบนราบแยกออกจากกันไม่มากนัก และเท้าจะไม่กลมมนหรือมีนิ้วชิดกันเกินไป ลักษณะอุ้งเท้าของชิวาวาจะมีความคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บลูด็อก
  • สี มีสีอะไรก็ได้อาจจะเป็นสีเดียวกันหมดทั้งตัว มีสีแต้มอย่างชัดเจนหรือสีมีต่างกันได้

จุดบกพร่องที่ถือว่าผิดมาตรฐาน

  • น้ำหนักเกินกว่า 6 ปอนด์
  • หางไม่ม้วนขึ้นบนหลังหรือหางถูกตัดสั้น
  • ชิวาวาพันธุ์ขนยาวที่มีขนน้อยเกินไป
  • ใบหูไม่ต้ังหรือใบหูถูกตัดสั้น

หลักการเลือกซื้อชิวาวา

คนรักสุนัขพันธุ์เล็กอย่างชิวาวาจะซื้อทั้งทีก็ต้องศึกษาสายพันธุ์กันก่อน แค่เห็นว่าตัวเล็ก ๆ ก็คงไม่ได้ เพราะสุนัขชิวาวามีหลายเกรดด้วยกัน ชิวาวามีอยู่ด้วยกัน 2 เกรด ได้แก่ เกรด Show Quality คือมีลักษณะพิเศษกว่าทุกตัวในคอกเดียวกัน หรือสุนัขเกรดประกวดได้สายเลือดชิวาวาจากแคนาดาแท้ ๆ ราคาจะค่อยข้างสูงตามลักษณะของสุนัขที่สวยตามไปด้วยส่วนมากจะซื้อไปเพื่อเอาไว้ประกวด ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าเกรด Pet Quality ส่วน Pet Quality เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ราคาจึงไม่สูงมาก ซึ่งพ่อพันธ์ุแม่พันธุ์ มีผลต่อราคาจำหน่ายลูกสุนัขทุกตัว ส่วนราคาในสุนัขชิวาวาขนยาวนั้นอาจสูงกว่า ราคาชิวาวาขนสั้นบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้จะเลือกแต่เพียงความสวยงามอย่างเดียวไม่ได้ควรเลือกจากสุขภาพสุนัขให้เลือกลูกสุนัขที่สมบูรณ์(สังเกตุจากภายนอก) สุขภาพแข็งแรง มีอายุสมขนาดของตัว ร่าเริง ชอบเล่น ไม่หงอยเหงาเศร้าซึม ไม่ก้าวร้าว เมื่อยกลูกสุนัขขึ้นต้องไม่แสดงอาการว่าเจ็บป่วย มีหลักในการพิจารณาด้วยการมองหรือสัมผัส ได้โดยส่วน หัว ให้ลูบคลำและดูว่าหัวทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่มีรอยยุบหรือบวมที่ข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ ตาดำมีขนาดเท่ากันทั้งสองข้าง ไม่เหล่ ดวงตามีประกายสดใส ไม่ซึม ไม่มีขี้ตาเกรอะกรังเพราะอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าสุนัขอาจจะป่วยหรือเพิ่งหายจากป่วยได้ หูต้องมีรูปร่างตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ไม่ขรุขระหรือเป็นแผลตะปุ่มตะป่ำ สะอาดและสามารถฟังเสียงได้ดี หันตามเสียงที่เราเรียกหรือปรบมือเรียก จมูกเรียบและชื้นเป็นมันแต่ไม่ฉ่ำไปด้วยน้ำ ปลายจมูกจะเย็น ถ้าร้อนหรือแห้งรวมทั้งมีน้ำมูกแสดงว่าลูกสุนัขเป็นไข้หรือไม่สบาย เวลาเดินไปมาสุนัขจะใช้จมูกดมกลิ่นไปด้วย ปากและฟันต้องไม่มีรอยฉีกแหว่ง เหงือกมีสีชมพูสดใส ถ้าขาวซีดอาจเป็นโรคโลหิตจางได้ ฟันเรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามและสบกันพอดี ผิวหนังต้องไม่มีเม็ดหรือตุ่มตามตัวมีความกระชับยืดหยุ่นสูง หากจับผิวหนังบริเวณไหนแล้วปล่อยต้องคลายตัวทันที หากยังตั้งหรือคลายตัวช้าแสดงว่าสุนัขตัวนั้นไม่แข็งแรงหรืออาจกำลังเจ็บป่วย ขนต้องเป็นประกายเงางามและอ่อนนุ่ม ทั้งนี้อาจจะมีขนบางส่วนที่ด้านบ้างแต่ต้องไม่หยาบกร้านหรือร่วงผิดปกติ และลำตัวมีโครงสร้างลำตัวตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง หลังไม่แอ่นหรือโก่ง ไหล่สมดุลกัน ท้องต้องไม่ใหญ่เกินไป เพราะสุนัขอาจเป็นไส้เลื่อนได้ นอกจากนั้นควรมีเอกสารการเข้ารับการทำวัคซีน(ใบวัคซีน) ต้องครบสุนัขไม่ไอหรือแสดงอาการอื่นๆ ที่ผิดปกติ และใบเพดดีกรี แสดงมาตรฐานสายพันธ์ุว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ตลอดจนมาตรฐานและชื่อเสียงของคอกสุนัขนั้น ๆ รวมอยู่ด้วยคุณต้องตระเวนไปตามร้านขายสุนัขหรือคอกเพาะพันธุ์สุนัข สิ่งที่ควรสังเกตคือ ที่ตั้งและขนาดของสถานที่หรือคอกนั้นๆ จะต้องสะอาด ไม่อึดอัด คับแคบ มีที่ให้สุนัขวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย เพื่อให้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เกิดครายอาการเครียด จะส่งผลดีไปยังลูกสุนัขที่เกิดมาด้วยเช่นกัน 
















อ้างอิง

  • ชื่อผู้เขียน กำพล  กรประทีป หนังสือคู่มือการเลี้ยงและแนะนำสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน และชิวาวา จัดพิมพ์โดย บริษัทเอ็มไอเอส ซอฟท์เทค จำกัด พิมพ์เมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548
  • ชื่อผู้เขียน กำพล  กรประทีป  พิมพ์เมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551
  • ชื่อผู้แต่ง นาวิน  แสงวิเวก หนังสือโลกสัตว์เลี้ยง ปีที่ 15 ฉบับที่ 174 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554
  • เจ้าของฟาร์ม ชุติมา